ที่ประชุมปัดตก ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 4 ฉบับ ได้คะแนนเสียงไม่ถึง

ที่ประชุมปัดตก ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 4 ฉบับ ได้คะแนนเสียงไม่ถึง

ผลออกตามคาดหลังที่ประชุมปัดตก ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 4 ฉบับ ใน 4 ฉบับมีร่างยื่นแก้ ส.ว. ร่วมเลือกนายกที่เสนอโดยประชาชนด้วย จากที่ในช่วงวันที่ 6- 7 กันยายน ประชุมรัฐสภาได้มีการหารือถึงเรื่อง การร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 4 ฉบับ และได้ลงเสียงในช่วงค่ำของวันเดียวกันนั้น 

ผลสรุปว่าที่ประชุมมีมติไม่รับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 4 ฉบับ โดยมีคะแนนเสียงดังนี้

1.คะแนนรับหลักการ 382 ต่อ 252 แต่ได้คะแนนจาก ส.ว. เพียง 40 คะแนน ซึ่งไม่ถึง 1 ใน 3 ผลคือรัฐสภา เป็นมติไม่รับหลักการร่างแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 43 โดย นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กับคณะ เป็นผู้เสนอ เกี่ยวกับเรื่องสิทธิของบุคคล และชุมชน

2.คะแนนรับหลักการ 346 ต่อ 299 แต่ได้คะแนนจาก ส.ว. 8 คะแนน ซึ่งไม่ถึง 1 ใน 3 ผลคือได้คะแนนไม่เกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา เป็นมติไม่รับหลักการร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 25 วรรคห้า แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 29 เพิ่มมาตรา 29/1 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 34 มาตรา 44 มาตรา 45 มาตรา 47 และมาตรา 48 นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว กับคณะ เป็นผู้เสนอ เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพิ่มสิทธิในกระบวนการยุติธรรม

3.คะแนนรับหลักการ 346 ต่อ 292 แต่ได้คะแนนจาก ส.ว.  9 คะแนน ซึ่งไม่ถึง 1 ใน 3 ผลคือได้คะแนนไม่เกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา เป็นมติไม่รับหลักการร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 159 วรรคหนึ่ง และมาตรา 170 วรรคสอง นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว กับคณะ เป็นผู้เสนอ ซึ่งเกี่ยวข้องกับคุณสมบัติและที่มาของนายกรัฐมนตรีจากการเลือกโดย ส.ส. เท่านั้น

4.คะแนนรับหลักการ 356 ต่อ 253 แต่ได้คะแนนจาก ส.ว. 23 คะแนน ซึ่งไม่ถึง 1 ใน 3 ผลคือได้คะแนนไม่เกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา เป็นมติไม่รับหลักการร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 272 ตัดอำนาจ ส.ว. ในการร่วมเลือกนายกรัฐมนตรี

ในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 4 ฉบับที่ถูกปัดตกนั้นมีร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 272 ซึ่งเป็นการตัดอำนาจ ส.ว. ร่วมเลือกนายกรัฐมนตรี โดยมี รศ.สมชัย ศรีสุทธิยากร กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 64,151 คนเป็นผู้เสนอรวมอยู่ด้วย

ทั้งนี้สำหรับการรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้นั้น ต้องได้รับเสียงเห็นชอบจาก ส.ว. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 หรือต้องได้คะแนนจาก ส.ว. 84 คนขึ้นไป

หลุด เอกสารชี้แจงนายก 8 ปี ของ ‘ประยุทธ์’ ชี้วาระเริ่ม 6 เม.ย 60

หลุดอีกแล้ว รอบนี้เป็น เอกสารชี้แจงนายก 8 ปี ของ ประยุทธ์ ที่ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ชี้ วาระนายกควรเริ่มนับ 6 เม.ย 60 ผู้สื่อข่าวได้รับเอกสารชี้แจงนายก 8 ปี ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่จะมีการตรวจสอบหลักฐานโดยศาลรัฐธรรมนูญในวันที่ 8 กันยายนที่จะถึงนี้นั้น โดยในเอกสารฉบับดังกว่า พล.อ.ประยุทธ์ แจงว่ายังไม่ครบ 8 ปี และต้องเริ่มนับวาระในที่ 6 เม.ย. 60

ในเอกสารชี้แจง พล.อ.ประยุทธ์ นั้นมีความยาวทั้งหมด 23 หน้าและได้ชี้แจงรายละเอียดทั้ง 8 ข้อดังนี้

ข้อ 1. ยืนยันว่าการนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 8 ปี จากปี 2557 นั้นไม่ถูกต้อง เนื่องจากตนเป็นนายกรัฐมนตรี 2 ครั้ง ครั้งแรก ดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 ด้วย ซึ่งต่อมาเมื่อรัฐธรรมนูญ 2560 บังคับใช้ ตนก็ยังคงดำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ 2560 จนมีการเลือกตั้ง และได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งที่ 2 มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งผู้ร้องไม่อาจนำระยะเวลาการเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งแรก ได้เพราะรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 สิ้นผลบังคับใช้ไปแล้ว ตั้งแต่วันที่รัฐธรรมนูญ 2560 บังคับใช้ และการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560 ทำให้ความเป็นนายกรัฐมนตรีของตนตามพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2557 เป็นอันสิ้นสุดลงนับตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2560 ด้วยเช่นกัน การสิ้นสุดดังกล่าวส่งผลให้ความเป็นนายกรัฐมนตรีของตนครั้งแรก จึง “ขาดตอน” จากวันที่รัฐธรรมนูญ 2560 บังคับใช้ (6 เม.ย.2560) จึงไม่อาจนับรวมระยะเวลา การเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งแรก กับการเป็นนายกรัฐมนตรี หลังรัฐธรรมนูญบังคับใช้ได้

ส่วนการดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่ วันที่ 6 เม.ย. หลังรัฐธรรมนูญบังคับใช้นั้น เป็นการดำรงตำแหน่งตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ จนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ หลังการเลือกตั้ง ในปี 2562 ดังนั้น การเป็นนายกรัฐมนตรี หลังรัฐธรรมนูญบังคับใช้ จึงเป็นการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีใหม่ตามบทเฉพาะกาล และได้ขาดตอนจากการเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งแรกไปแล้ว

ข้อ 2. การกำหนดระยะเวลา 8 ปี ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 158 วรรค 4 เป็นการกำจัดสิทธิทางกฎหมาย ซึ่งรัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติโดยชัดแจ้ง ว่าหมายรวมถึงความเป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญอื่น และโดยหลักตีความทางกฎหมายแล้ว หากรัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติไว้ชัดเจน จะตีความในทางจำกัดสิทธิบุคคลไม่ได้ ซึ่งตรงกับแนวทาง ของคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะพิเศษ ที่ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2565 มาเพื่อพิจารณากรณีวาระ8ปีการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ประกอบด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกาที่มีตำแหน่งเป็นกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 7 คน ได้แก่

– นายมีชัย ฤชุพันธุ์

– นายนรชิต สิงหเสนี

– นายธิติพันธ์ เชื้อบุญชัย

– นายประพันธ์ นัยโกวิท

– นายปกรณ์ นิลประพันธ์

– นายอัชพร จารุจินดา

– นายอุดม รัฐอมฤต

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป